วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

พระราชประวัติรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

พระราชประวัติรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

(ประสูติ พ.ศ. 2470 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน)

พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ เมืองเคมบริจดจ์มลรัฐเมสสาชูเสท ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสาธิราช องค์ที่ 3 ในสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ( สมเด็จพระศรีนครินทรทรา บรมราชชนนี ) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระเชษฐาธิราชว่า " พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล " พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชกาลที่ 8 และมีพระพี่นาง พระนามว่า " สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา "
             พระองค์ได้เสด็จกลับเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะมีพระชันษา 19 ปี ก่อนครองราชย์ได้ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้เสด็จกลับไปศึกษาวิชานิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ต่ออีกภายหลังที่ได้ครองราชย์แล้วทรงสนพระทัยในอักษรศาสตร์ และการดนตรีทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษาและตรัสได้อย่างคล่องแคล่ว จนเป็นที่ประจักษ์แก่คณะทูตานุทูตและประชาชนชาวเมืองนั้นๆ เป็นอย่างดี ต่างพากันชมว่า พระองค์ทรงมีความรู้ทันสมัยที่สุดพระองค์หนึ่ง สําหรับดนตรีนั้นทรงประพันธ์เนื้อร้องและทํานองเพลงแด่คณะวงดนตรีต่างๆ มีเพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยรู้จักเช่น เพลงสายฝน เพลงประจํามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เพลงประจํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์เคยเข้าร่วมวงดนตรีกับชาวต่างประเทศมาแล้ว โดยไม่ถือพระองค์
การศึกษา
             พระองค์ทรงศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอีก่อน แล้วจึงเสด็จไปศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อสําเร็จการศึกษาเบื้องต้นแล้ว จึงได้เข้าศึกษาต่อแผนวิทยาศาสตร์พร้อมกับพระเชษฐาธิราชซึ่งกําลังศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์อยู่ก่อนแล้ว ขณะที่ทรงศึกษาอยู่ทรงประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชาวต่างประเทศได้ชนรถพระที่นั่ง เกือบทําให้พระองค์ต้องเสียพระจักษุ แพทย์ต้องถวายการรักษาจนหายเป็นปกติ พร้อมกันนั้นพระองค์ทรงพบสตรีผู้สูงศักดิ์ และได้เป็นคู่บารมีของพระองค์เองในปัจจุบัน
             สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นธิดาองค์ใหญ่ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ( ม.จ. นักขัตมงคล กิติยากร ) และ ม.ล. บัว กิติยากร สมเด็จฯ มีพระนามเดิมว่า ม.ร.ว. สิริกิตติ์ กิติยากร เมื่อพระชันษา 5 ปี เรียนที่โรงเรียนราชินีล่าง ต่อมาย้ายไปเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์สามเสนทรงสนใจดนตรีมาก
             สมเด็จฯ ประสูติ ณ วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า "สิริกิตติ์" เพราะดวงชะตากําหนดศุกร์เดียวกันกับสมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ขณะที่ในหลวงทรงประสบอุปัทวเหตุและมี ม.ร.ว. สิริกิตติ์ ซึ่งพระบิดาเป็นเอกอัครราชทูตประจําอยู่สํานักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ แต่ได้มาอยู่สวิสชั่วคราวได้เข้าถวายการพยาบาลด้วย เป็นที่พอพระราชหฤทัยองค์ในหลวงเป็นที่ยิ่ง หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสําเร็จการศึกษา พระองค์ได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย เพื่อทรงประกอบพิธีราชาภิเษก สมรสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 นับแต่ทรงชาราภิเษกสมรสแล้ว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ
             1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดีประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494
             2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารประสูติ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
             3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประสูติวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498
             4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯประสูติวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชตามโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อทรงผนวชแล้วได้ประทับที่ ณ พระตําหนักเพชรวัดบวรนิเวศ
              ก่อนเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ดํารงตําแหน่งเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์และเนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้า เคยดํารงตําแหน่งสุงสุด จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินาถ"
พระราชกรณียกิจ
- พระราชทานกําเนิดมูลนิธิประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูถัมภ์เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2506
- ด้านสาธารณสุข จัดตั้งมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูถัมภ์
- ด้านเกษตร
1. การฟื้นฟูและปรับปรุงพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัล ( แรกนาขวัญ ) และได้มีพระราชดําริจัดทํา " พันธ์ข้าว ทรงปลูกพระราชทาน "
2. งานวิศวกรรมการเกษตร โดยทรงมีพระราขดําริที่นําเอากรรมวิธีทําฝนเทียมมาแก้ไขปัญหาขาดแคลนนํ้า เพื่อการเกษตร และบริโภค ในท้องถิ่นทุรกันดารพระองค์ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ให้จัดสร้างโรงงานทํานมผงในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อพ.ศ. 2512 และได้ให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกาตรสร้างโรงสีขนาดเล็กที่นักวิชาการของกระทรวงเกษตรได้วิจัยประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ระบบแรงเหวี่ยง
3. งานวิจัยค้นคว้าทางเกษตร ใช้ชาวเขารู้จักใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยให้ทดลองปลูกพืชหลายชนิดมีผลไม้ พันธุ์ฟัก และพันธุ์ไม้ดอก
 การประมง
             ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมประมงนําพันธุ์ปลาหมอเทศไปเลี่ยงในบ่อบริเวณสวนจิตรลดาพระราชวังสวนดุสิต ในปีพ.ศ. 2495 และในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 เจ้าฟ้าอากิฮิโต มงกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้จัดส่งลูกปลานิลมาถวาย เมื่อทรงเลี้ยงพันธุ์ปลานิลประสบผลสําเร็จ โปรดฯ ให้กรมประมงจ่ายลูกปลานิลแก่ราษฎรนําไปเพาะเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2510 และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2506 เป็้นวันเฉลิมพระชนมพรรษา รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยได้ถวายพระเกียรติให้พระองค์เป็น " สมเด็จพระภัทรมหาราช "
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙
              เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรมีอักษร อุ หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักรรอบ วงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบมีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อยู่เหนือจักร ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ หมายถึงทรงมีพระบรมเดชา นุภาพในแผ่นดิน
ที่มาhttp://www.l3nr.org/posts/407314

รูปภาพงานวันภาษาไทย


พระราชประวัติรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี

พระราชประวัติรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(ประสูติพ.ศ.2347ขึ้นครองราชย์พ.ศ.2393-พ.ศ.2411)

มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา

พระราชประวัติ
          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับปีชวด มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา ขณะนั้นพระราชบิดายังดัารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาอักขะสมัยกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุธามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
          เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็โปรดให้มีการพระราชพิธีลงสรง ( พ.ศ. 2355 ) เป็นครั้งแรกที่กระทําขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานนามจารึกในพระสุพรรณปัฎว่า " สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิสรค์กษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร " สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เรียกขานในหมู่ชาวต่างชาติว่า "คิงส์มงกุฎ" ขณะที่พระองค์ขึ้นเสวย สิริราชย์สมบัตินั้น พระชนมายุ 37 พรรษา
          เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณีโอรสองค์ที่ 50 ของรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีฐานะเสมือนพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง
การทํานุบํารุงบ้านเมือง
การปกครอง ในรัชกาลนี้ ได้มีการปฎิรูปการปกครองเฉพาะในด้านประเพณีที่มีมาแต่เดิมๆ อย่างเช่น ปรับปรุงประเพณีการเข้าเฝ้า มีพระบรมราชโองการให้ทุกคนสวมเสื้อเข้าเฝ้า โปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และถวายฎีการ้องทุกข์ทุกวันโกนเดือนละ 4 ครั้ง โดยพระองค์ท่านจะเสด็จออกมารับการร้องทุกข์นั้น
กฎหมาย  มีกฎหมายที่ออกในรัชกาลนี้มาก มีทั้งกฎหมายอาญาหลวง และมีประกาศเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาล  ยังมิได้มีการรวบรวมเป็นกระทรวงเดียวกัน แต่โปรดให้ตั้งศาลต่างประเทศระหว่างคนไทยกับต่างประเทศ และให้เกิดมีศาลกงสุลขึ้นเป็นครั้งแรก
ทหาร  โปรดให้มีการฝึกหัดทหารแบบยุโรป โดยจ้าง "ร้อยเอกอิมเปย์" นายทหารนอกราชการของกองทัพบกอังกฤษ ประจําประเทศอินเดียมาเป็นครูฝึก พ.ศ. 2394 ได้จัดกองทหารประจําพระองค์ออกเป็น 2 กอง คือ "กองทหารรักษาพระองค์" ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม และ "กองทหารหน้า"
ทหารเรือ  มีการสร้างเรือชนิดที่ใช้เครื่องจักรกลขึ้น และทรงตั้งกรมเรือกลไฟ
ตํารวจ  มีตํารวจพระนครบาลขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 การตัดถนนและขุดคลอง โปรดให้สร้างถนนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 ถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก
การขุดคลอง  มีการขุดคลอง เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ และคลองดําเนินสะดวก
ศาสนา  พระราชกรณียกิจที่สําคัญในการทํานุบํารุงพุทธศาสนา คือ ทรงให้กําเนิดธรรมยุติกนิกาย มีการสร้างพระอารามหลวง มี 5 พระอารามได้แก่ วัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดประทุมวนาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม วัดมกุฎกษัตริยาราม
วรรณคดี และกวี พระราชนิพนธ์ที่สําคัญ
          1. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
          2. บทระบํา
          3. บทละครเรื่องรามเกียรติ์
          4. บทเบิกโรงละครหลวง
          5. โคลงพระราชทานพร
          6. จารึกวัดราชประดิษฐ์
          7. ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย หมวดภาษา และวรรณคดี
กวีในรัชสมัย เช่น พระยาอิศรานุภาพ หม่อมราโชทัย คุณสุวรรณ
ศิลปกรรม  สถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์จิตรกรรม มีปรากฎอยู่ในพระอุโบสถ และพระวิหารวัดบวรนิเวศน์ปฎิมากรรม มีการหล่อพระพุทธรูป
การศึกษา  โปรดจ้างแหม่มเลียวโนเวนส์ มาจากสิงคโปร์ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และพระราชโอรสพระราชธิดา ด้วยทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไปภายหน้า
การติดต่อกับต่างประเทศ  ในรัชกาลนี้ มีการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มีการทําสนธิสัญญากับนานาประเทศ เริ่มด้วยรัฐบาลอังกฤษได้ส่ง เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เจ้าเมืองฮ่องกงในขณะนั้นเป็นอัครราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องบรรณาการเข้ามาขอเจรจาทําสนธิสัญญาทางไมตรีมาทางเรือรบ สนธิสัญญาที่ทําขึ้นมีผลที่สําคัญบังเกิดขึ้นคือ ก่อให้เกิดสิทธิภาพนอกอาณาเขต และอนุญาตให้คนในบังคับอังกฤษสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทย
          การทูตของไทย พ.ศ. 2400 พระองค์ทรงโปรดให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม ) เป็นอัครราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ณ ประเทศอังกฤษ
          ไทยเสียเขมร ต่อเนื่องมาจากฝรั่งเศสครองญวนได้แล้ว จึงมาบังคับเขมรโดยอ้างว่าเขมรเคยเป็นเมืองขึ้นของญวนมาก่อน สมเด็จพระนโรดมกษัตริย์ของเขมร ขณะนั้น ยินยอมทําสัญญาลับยอมอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2406 และได้ส่งหนังสือมากราบบังคมทูลว่า ที่ยอมฝั่งเศสนั้นเพราะถูกบังคับ และต่อมา วันที่ 15 กรกฎาคม 2410 ไทยได้ลงนามในสนธิสัญญายกกัมพูชาให้ฝรั่งเศส ศึกเมืองเชียงตุงการตีเมืองเชียงตุงนี้ ค้างมาตั้งแต่ปลายรัชกาล ที่ 3 แต่ตีไม่สําเร็จ
เสด็จสวรรคต  พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตําบลหว้ากอจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามที่พระองค์ทรงทํานายเอาไว้ว่า จะเกิดในวันขึ้น 1 คํ่า เดือน 10 พ.ศ. 2411หลังจากที่กลับมาแล้วก็ทรงประชวรหนัก และได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2411 พระชนมายุได้ 65 พรรษา เสวยราชสมบัติได้ 17 ปี มีพระราชโอรส และพระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 82 พระองค์
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔  เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระ มหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้าง มีพาน ทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาลหรือ เพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่งพระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายาเมื่อทรงผนวชว่า"วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์
 ที่มาhttp://www.l3nr.org/posts/407306

พระราชประวัติรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี

พระราชประวัติรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

(ประสูติพ.ศ.2330 ขึ้นครองราชย์พ.ศ.2367-พ.ศ.2394)

มีพระนามเดิมว่าพระองค์ชายทับ

พระราชประวัติ
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"
          พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรงส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา
การทํานุบํารุงบ้านเมือง
การปกครอง เป็นตามแบบเดิมที่เคยมีมา ในรัชกาลที่ 2รายได้ของประเทศ มีการปรับปรุงภาษีอากรใหม่ ยกเลิกภาษีฝิ่นอากรค่านํ้า และอากรรักษาเกาะ ส่วนการค้าขาย ส่วนใหญ่จะค้าขายกับจีน
ศาสนา  เป็นยุคของการฟื้นฟูบูรณะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีการปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การศึกษาพระปริยัติธรรม การตั้งธรรมยุติกนิกาย และมีการเผยแพร่ศาสนาอื่นเข้ามาในไทยอีกวัดที่ทรงสร้างและปฎิสังขรณ์ที่สําคัญมี วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดราชนัดดา วัดเทพธิดาราม วัดอรุณ วัดกลางเมือง วัดนางนอง วัดพระพุทธบาท วัดมหาธาตุ วัดโมลีโลกยาราม วัดยานนาวา
วรรรคดีและกวี วงการกวีและวรรรคดีจะเฟื่องฟูในยุคต้นๆเท่านั้นบทพระราชนิพนธ์ คือ
          1. เสพาขุนช้างขุนแผน
          2. บทละครเรื่องสังข์ศิลปไชย
          3. เพลงยาวรัชกาลที่ 3
          4. โคลงปราบดาภิเษก
กวีที่สําคัญอีกท่านหนึ่งคือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตโนรส มีพระนิพนธ์ที่สําคัญคือ ลิลิตตะเลงพ่าย พระปฐมสมโพธิกถา สรรพสิทธิ์คําฉันท์ กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ศิลปกรรม ทางด้านสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมของต่างประเทศ เช่น ศิลปการช่างของจีน ปฎิมากรรมที่สําคัญได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปประจํารัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2สร้างเมือง และป้อม สร้างเมืองใหม่ขึ้น คือ ได้แก่ พนัสนิคม ( เมืองพระรถ ) กบินทร์บุรี ประจันตคาม คําเขื่อนแก้ว ภูเวียงขุนคลองบองบาก คลองบางขุนเทียน เพื่อสะดวกแก่การคมนาคม และการเกษตรป้อมที่สร้างเพิ่มเติม สร้างป้อมที่เมืองสมุทรปราการ เมืองจันทบุรี เมืองสมุทรสงคราม เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึก
การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
ติดต่อกับพม่า ในรัชกาลที่ 3 นี้ อังกฤษติดต่อกับไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ ในการยกทัพไปพม่า รัชกาลที่ 3 โปรดให้พระยารัตนจักร คุมกองมอญไปล่วงหน้า และโปรดให้เจ้าพระยามหาโยธา ( ทอเรีย ) คุมกองทัพมอญออกไปทางด่านพระเจดีย์ 3 องค์ พระยาชุมพรคุมกองเรือชุมพรไชยา ยกไปทางเรือเพื่อตีเมืองมะริด และเมืองทวาย พระยามหาอํามาตย์กับพระยาวิชิตณรงค์ขึ้นไปเกณฑ์หัวเมืองฝ่ายเหนือ ยกทัพออกทางด่านแม่ละเมา
การติดต่อกับญวน ในรัชกาลที่ 3 ญวนสนับสนุนให้เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฎต่อไทย เท่ากับแสดงตนเป็นอริกับไทย ไทยจึงคิดปราบปรามญวนให้หายกําเริบเสียบ้าง จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์ ) เป็นแม่ทัพบก ยกไปไล่ญวนในประเทศเขมร จนจดไซ่ง่อน และให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพเรือ ตีหัวเมืองเขมรและญวนแถบชายทะเล ทําสงครามอยู่นานในที่สุดได้เลิกสงครามกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้นักองค์อิน เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง และให้นักองค์ด้วงไปครองเมืองมงคลบุรี
ติดต่อกับลาว ลาวมีความสัมพันธ์อันดีกับไทยมาตั้งแต่รัชกาลก่อนพอเปลี่ยนแผ่นดินมาเป็นรัชกาลที่ 3 ลาวก็มีท่าทีกระด้างกระเดื่อง สาเหตุมาจากเจ้าอนุวงศ์มาถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2368 และทูลขอครอบครัวชาวเวียงจันทน์ แต่รัชกาลที่ 3 ไม่โปรดให้
          พ.ศ. 2369 เกิดมีข่าวลือว่าอังกฤษจะทําสงครามกับไทย เจ้าอนุวงศ์จึงเข้ามากวาดต้อนผู้คนของไทยไป ทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพเป็นแม่ทัพ แต่ไม่ทันได้สู้รบกัน เจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนผู้คนไปจันทน์คุณหญิงโมภรรยาปลัด เมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วย เจ้าอนุวงศ์ จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทน์โดยวางกำลัง คอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และ เมืองภูเขียว โปรดให้กรมพระราชวังบวร เป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่ง ให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับ กองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้ เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไป บรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ กองทัพไทย ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้
          ในปี พ.ศ. 2371 พอเสร็จศึกทรงโปรดให้แต่งตั้งคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี และแม่ทัพสําคัญที่ปราบพวกกบฎอีกสองท่านคือ พระยาราชสุภาวดี และเจ้าพระยาอภัยภูธร ได้ราบคาบ จนสามารถจังเจ้าอนุวงศ์กับครอบครัวขังกรงประจานที่ท้องสนามไชย หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนตาย
การติดต่อกับอังกฤษ เมื่อเริ่มรัชกาล ไทยเคยช่วยอังกฤษรบกับพม่า แต่ไม่สําเร็จ จน พ.ศ. 2368 ผู้สําเร็จราชการอังกฤษประจําอินเดียได้ส่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นทูตเข้ามาเจรจากับไทยให้ช่วยรบกับพม่า เมื่อรบชนะ อังกฤษไม่ได้ให้อะไรกับไทย ไทยจึงหันมาตกลงเรื่องเมืองไทรบุรีกับอังกฤษ ไทยกับอังกฤษทําสัญญากัน เรียกว่า "สัญญาเบอร์นี่" ทั้งสองฝ่ายได้ให้สัตยาบัน เมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2369
การติดต่อกับอเมริกา ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ 3 นี้เอง พ.ศ. 2375 ประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็คสัน ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เป็นทูตเข้ามาเพื่อทําสัญญาการค้า
เทคโนโลยีของไทยภายใต้อิทธิพลของชาวตะวันตก
          การพิมพ์ หมอบรัดเล่ย์ มิชชั่นนารีอเมริกา นํ้าแท่นพิมพ์เป็นภาษาไทย แท่นแรกจากสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2379  ตัวพิมพ์อักษรไทย ร้อนโทเจมส์โลว์ เป็นผู้ประดิษฐ์แบบอักษรไทยขึ้นสําเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2371 การแพทย์ พวกมิชชั่นนารีจําหน่ายยาแก่คนทั่วไป ดําเนินการครั้งแรกพักริมวัดเกาะตอนสําเพ็ง พ.ศ. 2379 เริ่มมีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ. 2379 การผ่าตัดตามวิธีศัลยกรรมแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2390 การใช้ยาสลบ โดยหมอเฮ้าส์ พวกมิชชั่นนารีอเมริกา เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่คนไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาวิชาดาราศาสตร์ เดินเรือ วิชาช่าง และต่อกลเรือไฟได้เป็นครั้งแรก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ศึกษาวิชาการต่อเรือกําปั่นใบแบบฝรั่งเศสได้อย่างดี ต่อลําแรกได้สําเร็จเมื่อ พ.ศ. 2378 และตัดแปลงเป็นเรือรบ
ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์เบื้องต้น
          หมอเฮ้าส์ มิชชั่นนารี ผู้ที่ทําให้คนไทยรู้จักดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อมใสและแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาการศึกษา การศึกษาภาษาอังกฤษ มิชชั่นนารีอเมริกันชื่อ เจสซี่ คาสแวส์ ได้ถวายการสอนภาษาอังกฤษ แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขณะที่ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์ขนบธรรมเนียมและประเพณี จากการที่มีพวกมิชชั่นนารีมาอยู่ในไทย ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เลิกประเพณีเข้าเฝ้าโดยไม่ใส่เสื้อ
เสด็จสวรรคต
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 คํ่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 เวลา 8 นาฬิกา สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา มีพระราชบุตร 22 พระองค์ พระราชบุตรี 29 พระองค์
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๓
          เป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน
ที่มาhttp://www.l3nr.org/posts/407305

พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี

พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)

มีพระนามเดิมว่า ฉิม

พระราชประวัติ
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฏ
          1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
          2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา
พระราชกรณียกิจที่สําคัญ
          พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
          พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
          พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
          พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
          พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
          พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
          พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
          พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
          พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
          พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346
การทํานุบํารุงบ้านเมือง
          การปฎิสังขรณ์วัด โปรดให้แกะลายสลักที่บานประตู พระวิหารพระศรีศากยมุนี ณ วัดสุทัศน์ สร้างพระประทานในพระอุโบสถวัดแจ้ง และพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชรายได้ของแผ่นดิน ได้จากการเก็บภาษีอากรทางด้านการค้า ที่ทําตามแบบเดิม คือให้พระคลังสินค้ามีอํานาจในการซื้อขายการปกครอง นั้นคงทรงไว้แบบเก่า แต่งตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้ากํากับราชการ กฎหมาย ทรงตราพระราชกําหนดสักเลข และพระราชกําหนดห้ามมิสูบและขายฝิ่นสถาปัตยกรรม ขยายเขตพระบรมมหาราชวังสร้างสวนขวา พระสมุทรเจดีย์ และสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ประเพณีพิธีกรรม ได้แก่พระราชกรณียกิจลงสรง พระกําหนดพิธีวิสาขบูชา พระราชพิธีอาพาธพินาศ และการตั้งโรงทานการใช้ธงช้างเป็นธงชาติ ช้างเผือก 3 เชือกได้แก่ พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ศาสนา ทํานุบํารุงพุทธศาสนา เช่น การปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การสังคายนาสวดมนต์ การสร้างพระไตรปิฎก การส่งสมณทูตไปประเทศลังกาวรรณคดีและกวี มีรัตนกวีคู่พระหฤทัย เช่น พระสุนทรโวหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อิน ) พระยาตรัง
บทพระราชนิพนธ์ในพระองค์ ได้แก่
          1. บทละครในเรื่องรามเกียรติ์
          2. บทละครในเรื่องอิเหนา
          3. บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง คาวี ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย
          4. กาพย์แห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
          5. บทกาพย์โขน ตอนนางลอย พรหมาสตร์ นาคบาศ และเอราวัณ
          6. กลอนเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
การติดต่อกับพม่า
          พ.ศ. 2352 หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระชนมายุได้ 43 พรรษา นาน 2 เดือน พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นจอมทัพไปทรงปราบปรามพม่าได้
          พ.ศ. 2363 พม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ โดยมีพระเจ้าจักกายแมง ต่อจากพระเจ้าปดุง ได้ข่าวว่า ไทยเกิดโรคระบาด จึงยกทัพมาตี ไทยได้จัดกองทัพไปป้องกันตามทางที่พม่าจะเดินทางเข้ามา เช่น กาญจนบุรี เพชรบุรี ถลาง สงขลา พัทลุง และตาก พม่ารู้ข่าวก่อนจึงไม่กล้ายกทัพมา
การติดต่อกับญวน
          พ.ศ. 2353 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าเวียตนามยาลองกษัตริย์ญวน ได้แต่งตั้งให้ทูตเดินทางมาเคารพพระบรมศพ พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการเพื่อขอเมืองพุทธไธมาศกลับคืน จึงยอมให้เพื่อสมานพระราชไมตรี
การติดต่อกับกัมพูชา ( เขมร )
          พ.ศ. 2353 สมเด็จพระอุทัยราชา กษัตริย์เขมร ถูกรัชกาลที่ 1 บริภาษไปเมื่อคราวเข้าเฝ้า จึงผูกใจเจ็บไว้ ครั้นรัชการที่ 1 สวรรคต จึงหันไปพึ่งอํานาจญวนด้วยสมเด็จพระอุทัยราชากลัวว่าไทยจะยกทัพไปปราบปราม ญวนให้นักองโปโหคุมทหารมากํากับเขมร สมเด็จพระอุทัยราชาคิดเสียดายเมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง จึงปรึกษากับญวนซึ่งมีนักองโปโหเป็นกองกําลัง นักองโปโหก็เสนอแนะให้ฟ้าทะละหะ ยกทัพไปไทยโดยทําทีว่าจะไปเก็บค้างคาวและยมศิลาตามประเพณี ถ้าเห็นว่าอ่อนแอก็ให้โจมตีเมืองพระตะบอง แต่ฝ่ายไทยไหวทัน จึงตีกองทัพเขมรแตกพ่ายไป
การติดต่อกับจีน ในรัชกาลที่ 2 โปรดให้ไปเจริญทางพระราชไมตรีถึง 2 ครั้งคือ
          พ.ศ. 2353 โปรดให้ราชทูตอันเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าเกียเข้งกรุงปักกิ่ง เพื่อให้จีนทราบว่าไทยเปลี่ยนแผ่นดินใหม่
          พ.ศ. 2364 โปรดให้อัญเชิญพระราชสาส์น โดยมีพระยาสวัสดิสมุทร เป็นทูตไปแสดงความยินดีต่อพระเจ้าเตากวาง ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเกียเข้ง พร้อมคํานับพระศพด้วย
การติดต่อกับโปรตุเกส
         พ.ศ. 2361 ประเทศโปรตุเกสแต่งตั้งให้ มร. คาร์ลอส มานูเอล ซิลเวียรา เป็นทูตถือสาส์นนําเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดให้เป็น หลวงอภัยวาณิช
การติดต่อกับสหรัฐอเมริกา
         พ.ศ. 2364 กัปตันแฮน เป็นพ่อค้าชาวอเมริกันคนแรกได้ถวายปืนคาบศิลา 500 กระบอก จึงโปรดให้เป็น หลวงภักดีราช
การติดต่อกับอังกฤษ
         พ.ศ. 2365 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษตั้งผู้สําเร็จราชการอินเดียคือ มาร์ควิส เฮสติงค์ ได้ส่งจอห์นครอว์เฟิด มาเจริญราชไมตรี ผลของการเจรจาไทยเห็นว่าอังกฤษเอาเปรียบทุกอย่างไทยเลย ไม่ติดต่อด้วย แต่ยังมีพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ ยินยอมทําตามระเบียบของไทย และค้าขายเรื่อยมาจนได้โปรดให้เป็น หลวงอาวุธวิเศษ
เสด็จสวรรคต
         เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้วเจ้าอนุวงศ์หมดความเกรงกลัว เริ่มแข็งเมืองและเป็นกบฎขึ้นในรัชกาลพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 คํ่า ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขณะนั้นทรงพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงเสวยราชย์สมบัติ 16 ปี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๒
          เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑในวรรณคดีไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ ฉิมพลี
ที่มาhttp://www.l3nr.org/posts/407303

พระราชประวัติรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี

พระราชประวัติรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)

 มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง

 พระราชประวัติ 
               พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีทรงพระนามเต็มว่า
" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพา ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "
                ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ
               คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )
                คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่2)
                คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )
                คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
                คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
               เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพรพระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐีทองกับส้ม
               พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อนตําแหน่งดังนี้
               พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
               พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายกเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
               พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็นแม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2
              พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
              พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มีพระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบางยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มีการมหรสพ
              พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และปราบดาภิเษกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนพ.ศ. 2325 ( วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 คํ่า ปีขาล ) ขณะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติทรงมีพระชนมายุได้ 45 ปี ทรงโปรดให้สถาปนาพระอนุชา ( เจ้าพระยาสุรสีห์ ) เป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระนัดดา ( พระยาสุริยอภัย ) เป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง ถัดจากนั้นได้ประกอบกิจการที่สําคัญคือ
สร้างกรุงเทพมหานคร
               พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี เมื่อวันที่21เมษาย พ.ศ.2325(วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 คํ่าปีขาล) คือทําพิธียกเขาเอก " เสาหลักเมือง" กรุงเทพมหานครได้ลงมือก่อสร้างอย่างจริงจังเมื่อพ.ศ.2326 ปัจจุบันกรุงเทพฯมีชื่อเต็มว่า" กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ "
สาเหตุที่ย้ายราชธานีเพราะ
           1. พระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรี มีวัดขนาบทั้งสองข้างไม่เหมาะแก่การที่จะขยายพระราชวัง
ออกไปได้อีก
           2. ที่ตั้งพระราชวังเดิมอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นที่ที่นํ้าเซาะ
           3. กรุงเทพมหานครอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นพื้นที่กว้างขวาง
เป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การป้องกันตัวเองจากข้าศึก
การสร้างพระบรมมหาราชวัง
               พ.ศ. 2326 สร้างพระนคร ได้สร้างพระราชมณเฑียรสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล
               พ.ศ. 2327 สร้างพระมหาปราสาท สร้างวัดพระแก้ว และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรีมาสถิตอยู่ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกับได้อัญเชิญพระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทองกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยามาสร้างเป็นพระรูปหุ้มเงินปิดทองประดิษฐานไว้ในพระวิหารทรงพระราชทานนามวิหารแห่งนี้ว่า "หอพระเทพบิดร" ปฎิสังขรณ์วัดสลัก
                พ.ศ. 2328 หล่อปืนใหญ่ขึ้น 7 กระบอก สร้างวังให้พวกเจ้าเขมรที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขุดคลองมหานาค ขุดคูเมือง สร้างป้อมเชิงเทินขึ้นมากมายฟื้นฟูพระราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
              การปกครอง หลังจากปราบดาภิเษกแล้ว ทรงให้มีการตั้งข้าราชการที่มีความดีความชอบในราชการให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่น้อยตามฐานะทรงตั้งราชการวังหลวงขึ้น
              ด้านกฎหมาย ได้ทรงชําระกฎหมาย เรียกว่ากฎหมายตรา 3 ดวง ( คือ ตราราชสีห์คชสีห์ บัวแก้ว ) เพื่อสําหรับวินิจฉัยอรรถคดี และบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย
              การค้าขายกับต่างประเทศ ผประโยชน์ของประเทศไทยที่ได้รับขณะนั้นได้จากภาษีอากร เช่น อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด ภาษีค่านํ้าเก็บตามเครื่องมืออีกทั้งส่วนสินค้าต่างๆ ที่ให้ผลประโยชน์มาก ก็คือการค้าสําเภาอันสืบเนื่องมากแต่สมัยกรุงธนบุรี การค้ากับต่างประเทศได้แก่ประเทศจีน ลังกา อินเดีย มลายู สิงคโปร์ มาเก๊า
              การสงคราม การสงครามกับพม่าในสมัยพระเจ้าปดุงโดยพม่าได้แบ่งกองทัพเข้าโจมตีไทยหลายทาง คือ เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ด่านพระเจดีย์สามองค์ ชุมพร ไชยา และเมืองถลาง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงปรึกษาการต่อสู้กองทัพพม่าแล้วโปรดฯให้แบ่งกองทัพเป็น4ทัพคือ
               กองทัพที่ 1 กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นแม่ทัพไปขัดตาทัพที่เมืองนครสวรรค์
               กองทัพที่ 2 กรมพระราชบวรสถานมงคล ไปตั้งรับที่เมืองกาญจนบุรี
               กองทัพที่ 3 เจ้าพระยาธรรมากับเจ้าพระยายมราชคอยคุมทางลำเลียงติดต่อกองทัพ
               กองทัพที่ 4 เป็นกองทัพหลวง คอยช่วยศึกถ้าหากด้านใดเพลี้ยงพลํ้าก็จะยกไปช่วยทันที การสงครามครั้งนี้ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีไทยทีละทัพ ก็ถูกไทยตีแตกไปทุกทัพด้วยหลักยุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า
สงครามกับพม่า ( พม่าล้อมเมืองถลาง พ.ศ. 2328 )
               กองทัพพม่ายกมาตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งโดยทางเรือแล้วจึงข้ามไปตีเมืองถลางขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรม คุณหญิงจันทร์ (ภรรยาเจ้าเมือง) กับนางมุก (น้องสาวคุณหญิงจันทร์) เกณฑ์ไพร่พลชาวเมืองช่วยกันป้องกันเมืองถลาง ทัพพม่าไม่สามารถจะเอาเมืองถลาง สู้รบกันประมาณเดือนเศษพม่าขาดเสบียงอาหาร จึงเลิกทัพกลับไปเมื่อข่าวทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแต่งตั้งให้คุณหญิงจันทร์เป็นท้าวเทพกษัตรีส่วนนางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
สงครามกับพม่า ( ศึกท่าดินแดง พ.ศ. 2329 )
                สงครามครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากสงครามครั้งที่พม่าล้อมเมืองถลาง พระเจ้าปดุงยกกองทัพเข้ามาทางด่วนเจดีย์สามองค์ด้านเดียว เนื่องจากพระเจ้าปดุงรู้สึกว่าพระองค์ดําเนินการแผนผิด เพราะตั้งแต่ทําสงครามมาไม่เคยแพ้ใครมาก่อนจึงพยายามที่จะตีไทยให้ได้จึงรวบรวมกําลังผู้คนตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ และให้พระมหาอุปราชคุมคน 5 หมื่นคนตั้งมั่นอยู่ที่ตําบลสามสบ ท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯเป็นแม่ทัพหน้า และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นจอมทัพหลวงทัพทั้งสองเข้าตีพร้อมกัน พม่าทิ้งค่ายแตกหนีทุกค่าย กองทัพไทยไล่ฆ่าฟันและจับเชลยได้เป็นอันมาก ได้ทั้งช้าง ม้า เสบียงอาหาร และอาวุธ ตลอดจนปืนใหญ่
สงครามกับพม่า ( ลําปางและป่าซาง พ.ศ. 2330 )
                การที่พม่าแพ้ไทย ประเทศราชของพม่าก็เริ่มทําตัวกระด้างกระเดื่อง พม่าต้องใช้เวลาปราบ จากนั้นพม่าก็เลยมาตีเมืองป่าซางและลําปาง ซึ่งเป็นเขตไทยขณะที่ตีอยู่นั้น ข่าวทราบถึงกรุงเทพฯ ซึ่งกําลังเตรียมทัพจะไปตีเมืองทวายต้องเปลี่ยนแผน รัชกาลที่ 1โปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ ไปช่วยเมืองทั้งสองโดยให้คนที่อยู่ในตัวเมืองตีด้านในทหารที่ไปช่วยรบตีด้านนอก เสด็จจากสงครามครั้งนี้กรมพระราชวังบวรฯได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์
ทยตีเมืองทวาย พ.ศ. 233
                 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตั้งพระทัยจะตีเมืองทวายโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คุมพล 3 หมื่น ยกไปทางเหนือส่วนพระองค์เอง คุมพล 2 หมื่น โดยกระบวนเรือทางลํานํ้าไทรโยคขึ้นยกที่ท่าตะกั่วข้ามทิวเขาบรรทัด ซึ่งมีความลําบาก หนทางกันดาร ทําให้คนในทัพเหนื่อยล้าอิดโรยจึงตีเมืองไม่ได้ ต้องเสด็จยกทัพกลับ ภายหลังต่อมาอีก 4 ปี เมืองทวายเมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด ได้มาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย
การรบที่เมืองทวาย พ.ศ. 2336
                รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชดําริจะรบกับพม่าให้ได้ ได้ตั้งพระทัยใช้เมืองทวายเป็นฐานทัพและรวบรวมเสบียงอาหาร พระองค์ทรงยกทัพทางบก และโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯบัญชาการทัพเรือแต่ว่าไปถึงเมืองทวายเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด ชาวเมืองกลับไปเข้าข้างพม่า ขณะนั้นพม่าก็ยกกองทัพมาตีทวายกลับคืนได้เกิดกบฎขึ้นในเมืองมะริดและเมืองทวาย กองทัพไทยจําต้องทําสงครามทั้งสองด้าน ไทยขาดแคลนเสบียงอาหาร เพราะอาศัยเมืองทั้งสามไม่ได้จึงต้องยกทัพกลับไป
พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2340
                พม่ายกทัพมาคราวนี้ 7 ทัพ โดยมุ่งหมายจะตีลานนาไทยอีก รัชกาลที่ 1 โปรดให้กรมพระวังบวรฯ ทรงประชวรเป็นโรคนิ่ว จึงต้องหยุดประทับอยู่ที่นั่น ทรงโปรดให้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระยาวังหลังติดตามเสด็จขึ้นไปช่วยทรงบัญชาการรบจนมีชัยชนะทรงขับไล่พม่าออกจากแคว้นลานนาจนหมด
ศาสนา  พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์วัดวาอารามและได้ทรงยกสถาปนาตําแหน่งพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทําสังคายนาสอบสวนพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง
การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อนบ้าน  การติดต่อกับญวน พ.ศ. 2325กษัตริย์ประเทศญวนขณะนั้นก็คือ องเชียงสือ ได้ลี้ภัยจากพวกกบฎแห่งเมืองไกเชิงได้พามารดาเข้ามาอยู่ในเมืองไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอุปถัมภ์ไว้ และทรงช่วยเหลือเสบียงอาหารและสนับสนุนพร้อมทั้งอาวุธยุทธภัณฑ์ต่อมาองค์เชียงสือได้เข้าไปปราบปรามกู้บ้านเมืองได้และตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้ายาลอง"
การติดต่อกับจีน ติดต่อในฐานะการค้า  การติดต่อกับเขมรนักองเองมกุฎราชกุมารแห่งประเทศเขมรยังทรงอ่อนวัย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช ( แบน ) เป็นผู้สําเร็จราชการประเทศเขมรทรงชุบเลี้ยงอย่างพระราชบุตรบุญธรรมจนเวลาผ่านไปได้ 12 ปี จึงได้กลับไปครองประเทศเขมร ทรงพระนามว่า " สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี " และโปรดให้พระยายมราช เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ครองเมืองพระตะบองขึ้นกับไทย ผู้นี้เป็นต้นตระกูล" อภัยวงศ์ "
การติดต่อกับประเทศตะวันตก  ประเทศโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่มาติดต่อกับไทยเมื่อ พ.ศ. 2329 องตนวีเสนได้อัญเชิญพระราชสาส์นเข้ามาเจริญพระราชไมตรี รัชกาลที่ 1 โปรดให้จัดการต้อนรับอย่างสมเกียรติ
ประเทศอังกฤษ  มีอิทธิพลทางใต้ของไทยและฟรานซิสไลท์ คนอังกฤษได้เพียรขอเฝ้ารัชกาลที่ 1 ทูลเกล้าถวายดาบที่ประดับพลอยกับปืนด้ามเงินกระบอกหนึ่ง ต่อมาทรงแต่งตั้งให้เป็นพระยาราชกัปตัน
พระราชนิพนธ์ งานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1
                - กลอนนิราศท่าดินแดง
                - กลอนบทละครเรื่องอิเหนา
                - กลอนบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ต่อจากสมัยกรุงธนบุรี
                - กลอนบทละครเรื่อง อุณรุธ
                - กฎหมายตราสามดวง
เสด็จสวรรคต  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครองราชสมบัติได้ 27ปีเศษ ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ได้เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันที่7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะนั้นทรงพระชนมายุได้ 74 พรรษา พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑  เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นพฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๘
ที่มาhttp://www.l3nr.org/posts/407289