วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สงครามยุทธหัตถี


ประวัติสงคราม[แก้]

ในปี พ.ศ. 2135 พระเจ้านันทบุเรง โปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้านป่าโมกไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย
เช้าของวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงา คือช้างมีงาที่ได้รับการฝึกให้รู้จักการต่อสู้มาแล้วหรือเคยผ่านสงครามชน ช้าง ชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นช้างที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่าหลงเข้าไปในแดนพม่า มีเพียงทหารรักษาพระองค์และจาตุรงค์บาทเท่านั้นที่ติดตามไปทัน
สมเด็จ พระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าท้าว พระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้า พี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว"
พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง
ส่วน สมเด็จพระเอกาทศรถทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโรเสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้ว จึงใช้ปืนระดมยิงใส่สมเด็จพระนเรศวรได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้น ทัพหลวงไทยตามมาช่วยทัน จึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลา อีกยาวนาน
ที่มา http://www.navy.mi.th/newwww/document/royalthaiday/yutta.html

สมาชิกกลุ่ม

นางสาวณัฐธรา น้อยมีสุข ม6/10 เลขที่ 18
นางสาวปารีมา สระทองแดง 
ม6/10 เลขที่ 32 
นางสาวนภัสสร พจนะลาวัณย์ ม6/10 เลขที่ 38
นางสาวอังคณา ละอองนวล ม6/10 เลขที่ 39 

การเขียน

คือ วิธีการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์ เป็นการแสดงความรู้สึก ความคิด ความรู้ ความต้องการ เป็นลายลักษณอักษร เป็นให้ผู้รับสารได้ทราบ ความสำคัญในการเขียนในชีวิตรประจำวัน 1ช่วยใหัมนุษย์ถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนสู่ผู้อื่น 2ะป็นการบันทึกข้อมูล ข้อความ เรื่องราว ที่ผ่านการกลั่นกลองความคิดและจัดระเบียบไว้ดีแล้ว 3ใช้เป็นหลักฐานทางความคิดและบันทึกเหตุการณ์ทางสังคม เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าเมื่อเวชาผ่านไป 4เป็นวิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญา ความคิด ความเชื่อ จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง 5ใช้การเขียนพัฒนาความคิด จัดลำดับความคิด และเพิ่มพูนทักษะการสื่อสาร วัตถุประสงค์ 1การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง 2เขียนเพื่ออธิบาย ชี้แจง ให้เข้าใจชัดเจน 3เขียนเพื่อเสริมสร้างจินตนาการ 4เขียนเพื่อจูงใจ 5เขียนเพื่อปลุกใจ 6เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารหรือเเนะนำ ประเภทของการเขียน แบ่งตามรูปแบบ ร้อยแก้ว หมายถึงการเขียนแบบเขียนไปเรื่อยๆ ร้อยกรอง หมายถึง การเขียนแบบการแต่งเป็นกลอนหรือโครง แบ่งตามเนื้อหา เชิงสารคดี หมายถึง งานเสนอที่มุ่งนำเสนอข้อเท็จจริง ข้อมูล เช่นบทความ ตำรา สารคดีท่องเที่ยว เชิงบันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนที่เกิดจากจินตนาการหรือเรื่องสมมติ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทกวี กวีนิพน บทละคร

แนวทางการเขียนเพื่อการสื่อสาร

การวางโครงเรื่อง
โครงเรื่องจำแนกได้ 3 รูปแบบดังนี้
1.1โครงเรื่องแบบหัวข้อ คือ เขียนเป็นข้อๆ
1.2โครงเรื่องแบบประโยคสามัญ คือ เขียนเป็นประโยค
1.3โครงเรื่องแบบละเอียดหรือโครงเรื่องแบบร่างย่อหน้า
ประโยชน์ของการเขียนโครงเรื่อง
1.ช่วยให้ผู้เขียนอธิบายจุดประสงค์ได้ชัดเจน
2.เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ และจัดระเบียบเนื้อเรื่อง
3.ช่วยในการอ่านหนังสือให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
การเขียนย่อหน้า
1ลัษณะของย่อหน้าที่ดี
- ไม่จำกัดความยาว ขึ้นอยู่กับความสำคัญของเนื้อหาที่เขียนแต่ไม่ควรยาวจนเกินไป
- ควรมีจุดเด่นและน่าสนใจ
2การสร้าประโยคใจความสำคัญในย่อหน้า ดังนี้
- วางใว้ตอนต้นของย่อหน้า
- วางใว้ตอนกลางของย่อหน้า
- วางใว้ตอนท้ายของย่อหน้า
- วางใว้ตอนต้นเเละตอนท้ายของย่อหน้า